เมนู

9. เชนตปุโรหิตปุตตเถรคาถา1



ว่าด้วยคาถาของพระเชนตปุโรหิตปุตตเถระ


[355] เราเป็นผู้เมาด้วยความเมาเพราะชาติสกุล ด้วยโภคะ
และอิสริยยศ ด้วยทรวดทรง ผิวพรรณและรูปร่าง และ
เป็นผู้เมาแล้วด้วยความเมาอย่างอื่น เราจึงไม่สำคัญ
ใคร ๆ ว่าเสมอตน และยิ่งกว่าตน เราเป็นผู้มีกุศลอัน
อติมานะกำจัดแล้ว เป็นคนโง่เขลา มีใจกระด้าง ถือตัว
มีมานะจัด ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่กราบไหว้ใคร แม้เป็นมารดา
หรือบิดา แม้พี่ชายหรือพี่สาว และแม้สมณพราหมณ์
เหล่าอื่นที่โลกสมมติว่าเป็นครูบาอาจารย์ เราเห็นพระ-
พุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลก ผู้เลิศประเสริฐสุดกว่าสารถี
ทั้งหลาย ผู้รุ่งเรื่องดุจพระอาทิตย์ อันหมู่ภิกษุสงฆ์ห้อม
ล้อมแล้ว จึงละทิ้งมานะและความมัวเมา มีใจผ่องใส
ถวายบังคมพระองค์ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งหลาย ด้วยเศียร-
เกล้า การถือตัวว่าดีกว่าเขา ว่าเลวกว่าเขา และว่าเสมอ
เขา เราละแล้ว ถอนขึ้นแล้วด้วยดี การถือตัวว่าเป็นเรา
เป็นเขา เราตัดขาดแล้ว การถือตัวต่าง ๆ ทั้งหมด เรา
กำจัดแล้ว.

จบเชนตปุโรหิตปุตตเถรคาถา

1. อรรถกถาเป็นปุโรหิตปุตตเชนตเถรคาถา.

อรรถกถาปุโรหิตปุตตเชนตเถรคาถาที่ 9



คาถาของท่านพระเชนตเถระ มีคำเริ่มต้นว่า ชาติมเทน มตฺโตหํ
ดังนี้. มีเรื่องเกิดขึ้นอย่างไร .
แม้พระเถระนี้ ก็ได้บำเพ็ญบุญญาธิการไว้ในพระพุทธเจ้าปางก่อน
ทั้งหลาย สั่งสมบุญทั้งหลายไว้ในภพนั้น ๆ ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิด
เป็นบุตรของปุโรหิตของพระเจ้าโกศล ในนครสาวัตถี. ท่านมีนามว่า
เชนตะ. พอท่านเจริญวัยก็มัวเมาด้วยความเมาเพราะชาติและเมาในโภคะ
ความเป็นใหญ่ และรูป ดูหมิ่นคนอื่น ไม่ทำความยำเกรงแม้แก่ท่านผู้ตั้ง
อยู่ในฐานะที่ควรเคารพ มีมานะจัดเที่ยวไป. วันหนึ่ง นายเชนตะนั้นได้
เห็นพระศาสดา อันบริษัทหมู่ใหญ่ห้อมล้อมกำลังแสดงธรรมอยู่ เมื่อจะ
เข้าไปเฝ้า จึงทำความคิดให้เกิดขึ้นว่า ถ้าพระสมณโคดมนี้จักตรัสทักเรา
ก่อน แม้เราก็จักทักทายด้วย ถ้าไม่ตรัสทักเราก็จักไม่ทัก ดังนี้แล้วจึงเข้า
ไปเฝ้ายืนอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสทักก่อน แม้ตนเองก็ไม่ทักทาย
เพราะถือตัว แสดงอาการจะเดินไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสกะเขา
ด้วยพระคาถาว่า
ดูก่อนพราหมณ์ ใครในโลกนี้มีมานะ ไม่ดีเลย ผู้ใด
มาด้วยประโยชน์ใด ผู้นั้นพึงเพิ่มพูนประโยชน์นั้น.

เขาคิดว่า พระสมณโคดมรู้จิตใจของเรา มีความเลื่อมใสยิ่ง จึงซบ
ศีรษะลงที่พระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้า การทำอาการเคารพ
ยำเกรงอย่างยิ่ง แล้วทูลถามว่า
พราหมณ์ไม่ควรทำมานะในใคร ควรมีความเคารพ
ในใคร พึงยำเกรงใคร บูชาใครด้วยดีแล้ว จึงเป็นการดี.